วันอาทิตย์ที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔

เทคนิคเรียนเก่ง
1.พกปากกาสี 12สี ติดตัว
ทฤษฎีสี กล่าวไว้ ว่า สีจะสามารถเพิ่มการจดจำเนื้อหาต่าง ๆ ได้มากกว่า สีน้ำเงิน
ที่เขียนตามปกติ จึงควรซื้อปากกาสีต่าง ๆ ติดตัวไว้ เวลาอ่านหนังสือก็ใช้ปากกาสี
ในการจดเนื้อหา สำหรับคนที่กลัวว่าจะจดไม่ทันก็ใช้วิธีจดเฉพาะเนื้อหาสำคัญพร้อม
กับบันทึกเสียงไปพร้อม ๆ กัน แค่นี้ก้อสามารถจดจำได้แล้วล่ะ

2.ใช้สมุดโน้ตที่ไม่มีเส้น
การใช้สมุดโน้ตที่มีลายเส้นนั้นเหมือนเราอยู่แต่ในกรอบเส้นนั้น แต่ถ้าใช้สมุดโน้ต
ที่ไม่มีเส้นนั้นจะทำให้เราไม่มีกรอบในการเขียน เราอยากเขียนอะไรก็อยากเขียนได้
ทั้งนั้น

3.บันทึกงานออกมาในรูปแผนผังความคิด (Mind Map)หรือ รูปภาพ (Picture)
ถ้าเราอ่านหนังสือการ์ตูนตั้งแต่ปีที่แล้ว กับอ่านหนังสือ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เราจะ
สามารถจดจำการ์ตูนได้มากกว่า เวลาจดเนื้อหาบางอย่างอาจจะจดในรูปแบบ Picture
จะสามารถจดจำได้มากกว่า การบันทึกงานในรูปแบบของ mind Map จะเป็นการแบ่ง
เรื่องหัวข้อใหญ่ต่าง ๆ เพื่อใช้ในการอ่าน อาจใช้ mind map เป็นรูปก็ได้

4.Mp3
เราควรจะมี mp3 เพื่อใช้ในการบันทักเสียงเวลาที่คุณครูสอนแต่ไม่สามารถฟังและ
เก็บเกี่ยวเนื้อหาได้ครบทุกอย่าง หากเราอัดไว้ก็จะสามารถย้อนกลับไปฟังได้ หลาย ๆ ครั้ง
ก่อนสอบ

5.เอาใจครู
เอาใจครูในที่นี้ไม่ได้หมายถึงเอาอกเอาใจครู หมายถึง ทำตัวตามสไตร์ที่คุณครูชอบ
เพื่อเพิ่มความชอบของคุณครูในตนเอง เวลาเราชอบครูคนไหนก็อยากเรียนกับครูคนนั้น
อยากส่งงาน ครู อยากเจอหน้าครู ก็จะทำให้เรียนเก่งยิ่งขึ้น เพราะเราอยากเรียนวิชานั้น ๆ

6.นั่งหน้าห้อง
นั่งหน้าห้องจะสามารถทำให้เราได้ยินมากกว่าคนที่นั่งข้างหลังเรา เห็นชัดกว่าคนข้างหลัง
เรา และสามารถถามครูได้มากกว่า ซึ่งมันเป็นที่แน่นอนอยู่แล้ว

วันอังคารที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓

น้ำหนักอย่างไรเรียกว่าเหมาะสม

เราสามารถคำนวณได้คร่าว ๆ ด้วยการหา ดัชนีมวลกาย (BMI: body mass index) ซึ่งเท่ากับ น้ำหนัก (กิโลกรัม)หารด้วยส่วนสูงเป็นเมตรยกกำลังสอง
เช่น หากสูง 175 เซนติเมตร น้ำหนัก 70 กิโลกรัม ดัชนีมวลกายก็จะเท่ากับ 70 หาร 1.75ยกกำลังสอง เท่ากับ 22.86 ซึ่งสามารถแปลผลได้ดังนี้
ดัชนีมวลกาย < 16.5 = น้ำหนักน้อยขั้นรุนแรง
ดัชนีมวลกาย 16.5-18.4 = น้ำหนักน้อยกว่าปกติ
ดัชนีมวลกาย 18.5 - 23.4 = น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ
ดัชนีมวลกาย 23.5-28.4 = น้้ำหนักเกิน
ดัชนีมวลกาย > 28.5 = โรคอ้วน

วันพฤหัสบดีที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓

การสอนคณิตศาสตร์ให้สนุก

ครูผู้สอนควรทราบเนื้อหาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ได้แก่

๑. จำนวนและการดำเนินการ

๒. การวัด

๓. เรขาคณิต

๔. พีชคณิต

๕. การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

๖. ทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์

การจัดกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔ ได้เน้นด้านทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ซึ่งผู้สอนจะต้องจัดการเรียนรู้ด้านเนื้อหาให้สัมพันธ์กับทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ คือให้นักเรียนมีความสามารถดังนี้

๑. มีความสามารถในการแก้ปัญหา

๒. มีความสามารถในการให้เหตุผล

๓. มีความสามารถในการสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ

๔. มีความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์

๕. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

ลีลาการสอนของครูผู้สอน ๘ ประการ

๑. นักเรียนต้องเป็นผู้กระทำ มีส่วนร่วมในกิจกรรม

๒. นักเรียนเข้าใจว่าตนกำลังเรียนอะไร

๓. ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล

๔. นักเรียนได้รับการเสริมแรง เห็นคุณค่าในสิ่งที่เรียน

๕. นักเรียนได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ที่หลากหลายในการสรุป และจำแนกความรู้ที่ได้รับ

๖. กิจกรรมการเรียนรู้มีความหลากหลาย

๗. มีการกระทำซ้ำ ๆ อย่างสม่ำเสมอ

๘. การถ่ายโยงการเรียนรู้ มีการนำเสนอสถานการณ์การเรียนรู้ที่คล้าย ๆ กัน

ที่มา : วารสารวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ปีที่ ๑๐ ฉบับที่ ๑ มกราคม มีนาคม ๒๕๕๐ หน้า ๓๙ ๔๓